งานจัดเก็บและพัฒนารายได้

มาตรฐานภายใน เพื่อส่งเสริมความโปร่งใส ฯ

มาตรการป้องกันการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับโฆษณาบนทางสาธารณะ

สภาพและข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไป

สภาพทั่วไป
- ลักษณะที่ตั้ง
- แผนที่แสดงอาณาเขตการปกครอง
- อาณาเขตการปกครอง มีพื้นที่ 112,500 ไร่ หรือ 158 ตร.กม.

map

- เขตการปกครอง
อาณาเขตทางทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลเวียงกาหลง
อาณาเขตทางทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลแม่เจดีย์ใหม่
อาณาเขตทางทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอวังเหนือ จ.ลำปาง
อาณาเขตทางทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอพร้าว จ.เชียงใหม่

- ภูมิประเทศ
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาซึ่งคิดเป็นร้อยละ78 ของพื้นที่ทั้งหมด หรือประมาณ 87,750 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่ราบคิดเป็น ร้อยละ 20 หรือประมาณ 22,500 ไร่ และ พื้นที่ที่เป็นแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง คิดเป็นร้อยละ 2 หรือประมาณ 2,250 ไร่

- ท้องถิ่นอื่นในตำบล
มีเทศบาล 1 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลแม่ขะจานซึ่งรับผิดชอบพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่เจดีย์

- สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม 90 % รับจ้าง 5 % ค้าขายและ
รับราชการ 5 %
- ข้อมูลประชากร
จากข้อมูลด้านประชากรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ ในปี 2559 จำนวน 15 หมู่บ้าน
มีจำนวนประชากร 6,371 คน ชาย 3,175 คน หญิง 3,196 คน จำนวน 2,925 ครัวเรือน
ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือน เมษายน 2559 แยกเป็นรายละเอียดดังนี้

หมู่ที่ หมู่บ้าน ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น ชาย หญิง
1 บ้านสันลมจอย 167 149 76 73
2 บ้านขันหอม 230 570 268 302
3 บ้านสา 184 391 191 200
4 บ้านสันกู่ 217 614 308 306
5 บ้านป่าแงะ 385 842 428 414
6 บ้านสันมะนะ 481 961 463 498
7 บ้านทุ่งยาว 219 441 232 209
8 บ้านปางมะกาด 137 302 150 152
9 บ้านห้วยทราย 105 85 51 34
10 บ้านสันป่าก่อ 122 159 76 83
12 บ้านใหม่พัฒนา 85 245 115 130
13 บ้านห้วยน้ำกืน 145 357 183 174
14 บ้านกู่ทอง 146 403 212 191
15 บ้านป่าซางพัฒนา 128 300 156 144
16 บ้านสาเจริญ 174 552 266 286
รวม 2,925 6,371 3,175 3,196

 

- คุณภาพชีวิตในระดับครัวเรือนของประชากรในเขตตำบลแม่เจดีย์
   ประชากรอายุตั้งแต่ 15 – 60 ปี นับถือศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไปคนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยผ่านเกณฑ์มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ 100 และมีความปลอดภัยในที่อยู่อาศัยและบ้านมีสภาพคงทนถาวร ประชาชนส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยอยู่ในช่วงวัยผู้สูงอายุมากกว่าวัยผู้ใหญ่และวัยเด็ก ซึ่งได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนในครัวเรือนและหน่วยงานของรัฐ ดังนั้น จึงต้องมีการแก้ไขและเพิ่มจำนวนประชากรในวัยเด็กให้มากขึ้น เพื่อในอนาคตจะได้มีประชากรวัยผู้ใหญ่เพิ่มขึ้นและสามารถดำเนินชีวิตเพื่อจะได้มีการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป